• April 22, 2024

รถไฟไทยทำคันแรก “สุดขอบฟ้า” ผ่านทุกการทดสอบ! เตรียมบริการประชาชน

ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา หัวหน้าศูนย์วิจัยระบบรางและโครงสร้างพื้นฐาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะรองหัวหน้าโครงการรถไฟไทยทำหรือการผลิตรถไฟโดยสารต้นแบบ ให้สัมภาษณ์ “ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง้ดลินิวส์” ว่าทีมวิจัยจาก สจล. ร่วมกับฝ่ายการช่างกลการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทดสอบรถไฟไทยทำรุ่น “สุดขอบฟ้า (Beyond Horizon)” ตามมาตรฐานที่ รฟท. กำหนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งแบบสถิต (static test) ในโรงงาน และทดสอบแบบพลวัต (dynamic test)  3 วัน ผลการทดสอบน่าพอใจมาก ไม่พบปัญหาใด หลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนส่งมอบรถให้ รฟท นำไปใช้ประโยชน์ให้บริการประชาชนต่อไป

ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวต่อว่า การทดสอบแบบพลวัต เป็นการทดสอบสมรรถนะการใช้งาน และความปลอดภัย โดยทดสอบเดินรถจาก สถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง ถึงสถานีบ้านคลองสิบเก้า พ่วงไปกับหัวรถจักรอุลตร้าแมน ระยะทางประมาณ 135 กมคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. รวมไป-กลับ 270 กม. โดยทดสอบ 2 วัน รวมกันประมาณ 540 กม. ประกอบด้วย 1.ทดสอบสมรรถนะตัวรถ แบบ Single car test ได้แก่ การทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างตัวรถในการทำขบวนขณะวิ่งเสมือนจริง (train to train interface) เช่น ระบบลม และระบบทางกลต่างๆ ทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างตัวรถ กับโครงสร้างพื้นฐาน (train to infrastructure interface) เช่น ระยะเขตโครงสร้างและเขตตัวรถไฟ ระยะห่างระหว่างชานชาลาสูง และตัวรถไฟในการเข้าถึง (Accessibility test) 

รวมถึงทดสอบระบบเบรกในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งเบรกปกติ และเบรกฉุกเฉิน ถือเป็นการทดสอบระบบที่มีความสำคัญที่สุด โดยจำลองสถานการณ์ให้ขอพ่วง และท่อลมหลุดจากขบวน และให้รถ ”สุดขอบฟ้า” หยุดด้วยระบบเบรกฉุกเฉินของตัวเองเท่านั้น ที่ความเร็ว 90 กม.ต่อ ชม. ถือเป็นสถิติที่มีการทดสอบด้วยความเร็วสูงสุดของ รฟท. ขณะที่มาตรฐานโลกไม่ได้ทดสอบระบบเบรกที่ความเร็วสูงสุด แม้รถคันนี้จะใช้ความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. แต่เมื่อพ่วงตู้จะใช้ความเร็วสูงสุดเพียง 90 กม.ต่อ ชม.

2.ทดสอบสมรรถนะ และพฤติกรรมการวิ่งของตัวรถ โดยใช้ความเร็วสูงสุดที่ 120 กม.ต่อ ชม. พร้อมติดอุปกรณ์ เพื่อตรวจวัดผลตอบสนองจากตัวรถที่ความเร็วสูงสุดที่ต้องอยู่ในมาตรฐาน ซึ่งทาง รฟท. มีมาตรฐานที่ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะดวกสบายของผู้โดยสาร (ride comfort) ด้วย ขณะเดียวกันคณะนักวิจัยก็ได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานยุโรปคือ UIC 518 สำหรับด้านความปลอดภัยในการวิ่ง (running safety) และ ISO 2631 สำหรับมาตรฐานด้านความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ทุกการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด

ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวด้วยว่า การผลิตรถโดยสารต้นแบบขึ้นมาครั้งนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คนไทยทำได้ และยังใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 44% ขอขอบคุณหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และบริษัทกิจการร่วมค้าไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด ที่สนับสนุนทุนวิจัยในการพัฒนารถ รวมแคร่ และงานระบบประมาณ 32 ล้านบาท รวมทั้ง รฟท. ที่ร่วมสนับสนุนการทดสอบในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ ขอขอบคุณประชาชน และแฟนเพจรถไฟทุกคนที่มอบกำลังใจให้ทีมผู้วิจัยอย่างดี

“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” รายงานว่า รถไฟไทยทำ เป็นตู้โดยสารต้นแบบคันแรกของไทย ตามโครงการ “ไทยเฟิร์ส” ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ และลดนำเข้าเทคโนโลยี รหัสรุ่นคือ TMT-PC-BH001 ทีมวิจัยออกแบบตัวรถเองทั้งหมด ได้แรงบันดาลใจจากที่นั่งในเครื่องบินชั้นธุรกิจ และชั้นเฟิร์สคลาสในรถไฟความเร็วสูง มีความยาว 24 เมตร กว้าง 2.80 เมตร มีที่นั่ง 25 ที่ ประกอบด้วย ชั้น Super Luxury 8 ที่นั่ง และชั้น Luxury 17 ที่นั่ง 

ทุกที่นั่งมีจอภาพส่วนตัวสำหรับให้บริการด้านความบันเทิง และสั่งอาหาร มีพนักงานเสิร์ฟหุ่นยนต์นำอาหารมาส่งถึงที่นั่ง มีระบบห้องน้ำสุญญากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งทางขึ้นรถไฟที่ได้รับการออกแบบ เพื่อรองรับการใช้งานของผู้พิการ ทั้งนี้ หากเทียบกับการผลิตในท้องตลาด ราคาประมาณ 50 ล้านบาทคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต